ตะกร้าของฉัน

ยังไม่มีรายการสินค้าในตะกร้า

ราคาสินค้า

฿ 0
coolsim
coolsim
Podcast
Live Streaming
Content
Playlist
LIVE -
share
ได้ยินต่อมทอลซิลบ่อยๆ อยากรู้ว่า ต่อมทอนซิลอยู่ตรงไหน  และถ้าอักเสบอาการจะเป็นอย่างไรคะ

ได้ยินต่อมทอลซิลบ่อยๆ อยากรู้ว่า ต่อมทอนซิลอยู่ตรงไหน และถ้าอักเสบอาการจะเป็นอย่างไรคะ

COOL Clinic

14 ธ.ค. 256502 นาที 37 วินาที

ได้ยินต่อมทอลซิลบ่อยๆ อยากรู้ว่า ต่อมทอนซิลอยู่ตรงไหน และถ้าอักเสบอาการจะเป็นอย่างไรคะ

-

ต่อมทอนซิล(tonsils) มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ภายในต่อมมีเม็ดเลือดขาวหลายชนิด หน้าที่หลักคือ จับและทำลายเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายทางทางเดินอาหาร หน้าที่รองลงมาคือ 

สร้างภูมิคุ้มกัน ต่อมทอนซิลพบได้หลายตำแหน่ง ต่อมที่เราเห็นจะอยู่ด้านข้างของช่องปาก 

มีชื่อเรียกว่า พาลาทีนทอนซิล (palatine tonsil)นอกจากนั้นต่อมทอนซิลยังพบได้บริเวณโคนลิ้น(lingual tonsil)และช่องหลังโพรงจมูก(adenoid tonsil)ค่ะ

ส่วนทอนซิลอักเสบที่เราได้ยินกันบ่อยๆนั้น (tonsillitis)

เป็นภาวะอักเสบของต่อมทอนซิลส่วน"คออักเสบ"(pharyngitis)มักใช้เรียกภาวะอักเสบของเนื้อเยื่อในลำคอที่อยู่บริเวณหลังช่องปากเข้าไป 

ส่วนใหญ่แล้วโรคต่อมทอนซิลพบมากที่สุดในเด็กอายุก่อน10ปี 

เพราะหลัง10ปีไปแล้วต่อมทอนซิลจะทำงานน้อยลงหรือไม่ทำงานเลย 

แต่ในผู้ใหญ่อายุน้อยกว่า 20ปี ก็ยังเป็นโรคต่อมทอนซิลอักเสบได้ 

ผู้ป่วยที่มีทอนซิลอักเสบเฉียบพลันจะมีอาการไข้ หนาวสั่น เจ็บคอ กลืนลำบาก โดยเฉพาะ 

เวลากลืนอาหารจะเจ็บมาก คนไข้เด็กจะมีอาการน้ำลายไหล เพราะกลืนลำบากทำให้น้ำลายจะไหลลงไปไม่ได้ ก็จะไหลออกมา หรือคนไข้เจ็บคอมาก ๆ อาจมีอาการอาเจียนหลังจากรับประทานอาหาร 

เพราะการรับประทานอาหารจะรบกวนลำคอที่เจ็บอยู่

 การรักษาทอนซิลอักเสบเฉียบพลัน:ปกติแพทย์จะให้การรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาบรรเทาอาการเจ็บคอ ยาลดน้ำมูก ลดไข้ ให้ยาต้านจุลชีพ หรือยาแก้อักเสบ เพื่อกำจัดเชื้อต้นเหตุถ้าการอักเสบนั้นเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ควรรับประทานยาดังกล่าวให้นานพอ 7-10 วัน ซึ่งในปัจจุบันยาในกลุ่มเพนนิซิลินยังใช้ได้ผลดี ยกเว้นเชื้อบางกลุ่มที่พบว่าดื้อยาแล้ว แพทย์จึงจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะที่แรงขึ้น ในรายที่มีอาการมาก ๆ เช่น เจ็บคอมากจนรับประทานอาหารไม่ได้และมีไข้สูง แพทย์อาจแนะนำให้นอนพักรักษาในโรงพยาบาล เพื่อให้น้ำเกลือ ถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษา การอักเสบของต่อมทอนซิล อาจจะกระจายกว้างออกไป จนเกิดเป็นหนองบริเวณรอบต่อมทอนซิล(peritonsillar abscess)แล้วอาจลุกลามผ่านช่องคอเข้าสู่ช่องปอดและหัวใจได้ นอกจากนั้น เชื้อแบคทีเรีย อาจเข้ากระแสเลือดแล้วกระจายไปทั่วร่างกาย 

ซึ่งเป็นภาวะที่อันตรายอย่างมาก เพราะอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ 

การผ่าตัดเอาต่อมทอนซิลออก เป็นการกำจัดไม่ให้ต่อมทอนซิลติดเชื้อบ่อย สำหรับผู้ป่วยเด็กทางเดินหายใจก็จะโล่งขึ้นด้วย ในการตัดต่อมทอนซิลทิ้งไม่มีข้อเสีย เมื่อตัดทิ้งตามข้อบ่งชี้ที่ถูกต้องและเหมาะสม ต่อมทอนซิลที่ตัดทิ้งมักจะเป็นต่อมที่ไม่ทำงานแล้ว จึงไม่ฆ่าเชื้อโรค แต่จะเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคแทน เนื่องจากมีต่อมน้ำเหลืองในช่องคออีกมากมายที่ทำงานจับเชื้อโรคแทนต่อมทอนซิลได้ การผ่าตัดเอาต่อมทอนซิลออก จึงไม่ได้ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกาย หรือของช่องปากลดลงแต่อย่างใดค่ะ 

Next song | -
-
Next song | -